ลักษณะอาการ
อาการที่มักเกิดขึ้น ได้แก่ อาการแสบยอดอก แน่นหรือเจ็บบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว จุกแน่น หรือมีรู้สึกก้อนอาหารค้างในคอ ในบางรายที่อาการรุนแรงจะมีอาการกลืนเจ็บ อาการอื่น ๆ ที่เกิดได้จากกรดไหลย้อนมานอกหลอดอาหาร ได้แก่ อาการไอ เสียงแหบจากกล่องเสียงอักเสบ หรือหอบหืดกำเริบบ่อยครั้ง
สาเหตุ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค
- อาหารบางชนิด ทำให้เกิดอาการได้มากขึ้น เช่น กาแฟ ชอคโกแลต อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด น้ำอัดลม อาหารที่มีส่วนประกอบของมะเขือเทศ อาหารประเภทผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น หัวหอม กระเทียม มิ้นท์
- การรับประทานอาหารมาก ๆ ในหนึ่งมื้อ
- การนอนหลังรับประทานอาหารทันที
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เกิดแรงดันในช่องท้อง เช่น การสวมเสื้อผ้ารัดแน่น การตั้งครรภ์
วิธีการรักษา
ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
- Omeprazole (20 mg) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 - 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า - เย็น
- Lansoprazole (30 mg) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ยาเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหาร ลดอาการคลื่นไส้
- Domperidone (10 mg) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 - 3 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น เวลามีอาการ
ยาลดอาการปวดเกร็งช่องท้อง
- Hyoscine (10 mg) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 - 3 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น เวลามีอาการ
ยาขับลม ลดอาการอืดแน่นท้อง
- Air-X (Simethicone 80 mg) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 - 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น เวลามีอาการ
- ยาน้ำตรากระต่ายบิน รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 1 - 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น เวลามีอาการ
ยาบรรเทาอาการแผลในกระเพาะอาหาร และขับลม
- Kremil รับประทานครั้งละ 2 - 4 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ขณะท้องว่างหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง
ยาขับลม ลดอาการอืดแน่นท้อง
- Antacil Gel รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 1 - 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น เวลามีอาการ
- Gaviscon Advance Liquid รับประทานครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 1 - 4 ครั้ง หลังอาหารเช้า - กลางวัน - เย็น - ก่อนนอน เวลามีอาการ
- Gaviscon Liquid Sachet Mint รับประทานครั้งละ 1 - 2 ซอง (10 - 20 ml) ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
การปฏิบัติตัว
วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นกรดไหลย้อน
- หากมีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก
- ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ปรับหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วฟุต
- นอนในท่าตะแคงซ้าย
- ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารปริมาณมากในแต่ละมื้อ ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้มีอาการ ได้แก่
- รสเผ็ด
- เครื่องดื่มคาเฟอีนเช่น ชา กาแฟ
- อาหารที่เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม อาหารรสเปรี้ยวจัด
- อาหารไขมันสูง เช่น ของทอด ช็อคโกแลต
- อาหารที่ทำให้เกิด Gas เช่น กระเทียม หัวหอม
- Mint เช่น สะระแหน่ หมากฝรั่งเปปเปอร์มินท์
- หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร เช่น ยาลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs (เช่น ไดโคลฟีแนค ไอบูโพรเฟน)
- งดบุหรี่
- งดการดื่มแอลกอฮอล์
อาการที่ถือว่าผิดปกติ และควรได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติม
- มีอาการกลืนเจ็บ กลืนลำบาก กลืนติดหรือสำลัก
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อาเจียนบ่อย อาเจียนเป็นเลือด
- มีภาวะ ซีด ถ่ายดำหรือถ่ายเข้ม
- มีอาการปวดท้องรุนแรง